CT SCAN (ซีที สแกน หรือ Computerized Tomography Scan) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน อ่านเพิ่มเติม

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำ CT Scan ในกรณีดังต่อไปนี้

ตรวจวินิจฉัยอาการป่วย เช่น ตรวจหาการบาดเจ็บเสียหายของอวัยวะภายใน ภาวะเลือดออกของอวัยวะภายใน การไหลเวียนของเลือด การเกิดลิ่มเลือด รอยแตกร้าวของกระดูก ภาวะสมองขาดเลือด เนื้องอก และเนื้อร้าย ติดตามการรักษาอาการป่วย ทั้งในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา เช่น ตรวจดูขนาดของก้อนเนื้องอก ตรวจผลหลังการรักษามะเร็ง อ่านเพิ่มเติม

การเตรียมตัว
ผู้ป่วยควรซักถามถึงข้อสงสัยที่มี อย่างสาเหตุ ความจำเป็น ความเสี่ยง และประโยชน์ที่ได้จากการตรวจด้วย CT Scan โดยก่อนทำ CT Scan ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ซิป เข็มขัด ถอดแว่นตา ฟันปลอม และไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนใส่ชุดที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ เพื่อให้สะดวกต่อการฉายรังสีและการสร้างภาพ  อ่านเพิ่มเติม

หลังทำ CT Scan ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านและทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือขับรถได้ตามปกติ แล้วมาตามนัดหมายเพื่อฟังผลจากแพทย์ ยกเว้นผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาระงับประสาทเพื่อคลายความกังวลก่อนเข้าเครื่องสแกน ซึ่งจะทำให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึมได้ ควรให้คนมารับกลับ ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองเพราะอาจเกิดอันตรายได้ อ่านเพิ่มเติม

ตั้งครรภ์ หากไม่ใช่ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน แพทย์จะให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ใช้วิธีการอื่นในการตรวจวินิจฉัยเพื่อเลี่ยงไม่ให้รังสีเอกซเรย์ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ อ่านเพิ่มเติม

ข้อดีของการทำ CT Scan

สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้
ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจสแกน
ภาพที่ได้มีรายละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวนด์ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น
สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI อ่านเพิ่มเติม

การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย อาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการได้รับรังสีมากเกินไป แต่ยังไม่พบว่าการทำ CT Scan จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายในระยะยาวได้ และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจากรังสีใน CT Scan น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยที่ทำ CT Scan จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยเป็นเด็ก หรือเด็กโต และผู้ที่เข้ารับการตรวจด้วยการฉายรังสีเป็นประจำ อ่านเพิ่มเติม